Class Central is learner-supported. When you buy through links on our site, we may earn an affiliate commission.

Naresuan University

สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม | Human Right in Justice Procedure

Naresuan University via ThaiMOOC

Overview

คำอธิบายรายวิชา คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนาในประเทศไทย อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกัน ระบบกฎหมายไทยมี หลักเกณฑ์คุ้มครองศักดิ์ศรี สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมหลาย ด้าน อาทิเช่น ทางอาญา ทางแพ่ง ทางปกครองและอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวสอดคล้องกับ มาตรฐานสากล บริบทของประเทศ และพลวัตรของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปที่นับวันมีแต่จะขยายความ คุ้มครองให้ครอบคลุมและชัดเจน ทั้งยังมีกลไกของรัฐช่วยสร้างเสริมความตระหนักรู้ หวงแหนและปกป้อง ศักดิ์ศรี สิทธิและเสรีภาพและความเสมอภาคอย่างถูกต้องตามครรลองคลองธรรมในระบบกฎหมายไทยที่ เป็นลายลักษณ์อักษร วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (แบ่งตามประเภทของการเรียนรู้ตาม BLOOM’S TAXONOMY หรือ OUTCOME BASE) 1. มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานสากล 2. มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการคุ้มครองสิทธิผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ ยุติธรรม 3. มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการยุติธรรมด้านต่างๆ ตามกฎหมายไทย 4. มีความรู้ความเข้าในในกระบวนวิธีพิจารณาความเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตาม กฎหมายไทย 5. มีการปรับใช้หลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อาจารย์ผู้สอนในรายวิชา อาจารย์จินตนา พนมชัยชยวัฒน์ (Mrs.JINTANA PHANOMCHAICHAYAWAT) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (Faculty of Law) อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา กฎหมายระหว่างประเทศคดีเมือง (Public International Law) ตราสารเปลี่ยนมือ (Negotiable Instrument) ปัญหาพิเศษกฎหมายระหว่างประเทศ (Special Problem on International Law) กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law) E-mail : [email protected] ผู้ช่วยสอนในรายวิชา นางสาวเบญจรัตน์ ภูมิใหญ่ Miss Benjarut Phumyai E-mail : [email protected] นางสาวปลิดา วุฒิทรงสกุล Miss Palida Vuttisongsaku E-mail : [email protected] นางสาวทรภัชชา ผลผดุง Miss Tornpatcha Phonphadung E-mail : [email protected] นายสุทัศชา ราชณรินทร์ Mr.Suthatcha Rajnarin E-mail : [email protected] นโยบายการวัดประเมินผล เกณฑ์การให้คะแนน การผ่าน/ไม่ผ่าน และใบประกาศนียบัตร (หากมี) การวัดประเมินผลการเรียนรู้ เกณฑ์การประเมินผล 1. วัดประเมินผลผ่านแบบทดสอบปรนัยก่อนและหลังเรียนในแต่ละสัปดาห์ 2. เกณฑ์การให้คะแนน มากกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนของแต่ละ สัปดาห์ จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด/จำนวนหน่วยกิต (หากเป็นรายวิชาในหลักสูตรปกติ) 5 ชั่วโมง จำนวนชั่วโมง ที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ต่อสัปดาห์/หรือต่อครั้ง 1-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ / จำนวน 3 สัปดาห์ ความรู้พื้นฐานที่ต้องมีมาก่อน (หากมี) สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมพื้นฐานทั่วไปและสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ประเภทของการเรียนในรายวิชา (เรียนด้วยตนเอง เรียนแบบกลุ่ม) เรียนด้วยตนเอง ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา ระดับเบื้องต้น กลุ่มเป้าหมาย ของรายวิชา นิสิต-นักศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่จำกัดสาขา / นักเรียน / ประชาชนทั่วไป คำแนะนำในการเรียนรู้ ผู้เรียนควรศึกษาคำแนะนำในการเรียน ก่อนที่จะศึกษาเนื้อหาบทเรียนและปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ในแต่ละสัปดาห์ รวมทั้งเข้าเรียนและทำกิจกรรมครบทุกบทเรียนที่จัดขึ้น เช่น การอภิปราย การทำแบบฝึกหัด/ใบงานทุกชุด (แบบฝึกหัดมีส่วนที่คิดคะแนนและไม่คิดคะแนน เพื่อทดสอบความรู้และทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในระหว่างเรียนและเป็นการฝึกพัฒนาผู้เรียนเท่านั้น) Creative common สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Reviews

Start your review of สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม | Human Right in Justice Procedure

Never Stop Learning.

Get personalized course recommendations, track subjects and courses with reminders, and more.

Someone learning on their laptop while sitting on the floor.